ถังบำบัดน้ำเสีย (ถังแซท) คืออะไร? ติดตั้งอย่างไรให้ถูกวิธี?

รู้จกถังแซท และการติดตั้งที่ถูกต้อง

การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญสำหรับการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ซึ่งถ้าหากได้รับการติดตั้งที่ไม่ได้คุณภาพจากเหล่าผู้รับเหมาที่ไม่มีคุณภาพ นั่นอาจนำไปสู่ปัญหาระยะยาวต่างๆในภายภาคหน้าได้

อย่างที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือเกิดการอุดตันภายในห้องน้ำ ทำให้มีน้ำขังหรือรั่วซึมภายในบ้านทำให้เกิดกลิ่นรบกวน แต่ถ้าหากได้รับการติดตั้งที่ได้มาตรฐานจากทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ ก็จะทำให้ระบบระบายน้ำภายในบ้านไหลเวียนได้สะดวกเป็นปกติ ไม่มีการเกิดท่ออุดตัน และระบบบำบัดน้ำจะทำงานได้อย่างมีคุณภาพและเต็มประสิทธิภาพ

ถังบำบัดน้ำเสีย หรือ ถังแซท คือะไร?

ถังบำบัดน้ำเสีย หรือ ถังแซท คือ ถังบำบัดที่ต่อเข้ากับท่อลำเลียงน้ำเสียภายในตัวบ้านเพื่อทำการบำบัดน้ำก่อนระบายออกสู่ท่อสาธารณะ ภายในตัวถังจะมีระบบสำหรับบำบัดน้ำที่มีสิ่งปฏิกูลสะสมเจือปนอยู่โดยการแยกกากสิ่งปฏิกูลออกจากน้ำโดยกากเหล่านั้นจะลงไปอยู่ยังก้นของบ่อบำบัดและทำการปล่อยน้ำที่ถูกแยกกากออกลงสู่ท่อระบายน้ำสถารณะ โดยจะไม่มีการซึ่มลงดินเหมือนกับบ่อเกรอะ ทำให้สะดวกต่ออาคารที่บริเวณโดยรอบน้ำซึมผ่านได้ยาก ทำให้ไม่มีการส่งกลิ่นเหม็นและไม่สร้างสภาวะมลพิษให้กับสภาพแว้ดล้อมในบริเวณโดยรอบอีกด้วย

รู้จักถังแซท การติดตั้งถังบำบัดที่ถูกต้อง

การติดตั้งถังแซทที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

  1. ตรวจสอบสถานที่และตัวของถังบำบัดว่ามีความเหมาะสมกันหรือไม่
  2. ขุดหลุมให้มีความกว้างมากกว่าตัวถังบำบัด อย่างเช่นในกรณีที่ตัวถังบำบัดมีความกว้างอยู่ที่ 1 เมตรในขั้นตอนของการขุดจึงจำเป็นต้องขุดเพิ่มอีก 1 เมตร รวทั้งสิ้นเป็น 2 เมตร
  3. ความลึกของหลุมไม่ควรลึกจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดการยุบตัวจากน้ำหนักของทรายและคอนกรีตได้ และควรสังเกตระดับของท่อน้ำออกที่ต่อเข้ากับท่อน้ำเข้าของบ่อบำบัด เพื่อให้น้ำสามารถไหลออกสู่ท่อสาธารณะได้สะดวก
  4. เมื่อขุดหลุมเสร็จแล้วให้ทำการ ตอกเสาเข็มสำหรับน้ำหนักของตัวถังบำบัด และป้องกันถังเอียงผิดรูปทรง
  5. หลังจากทำการตอกเสาเข็มแล้ว ปูพื้นด้วยคอนกรีตเป็นฐาน โดยผสม เหล็กไวร์เมส ทรายและปูนเพื่อให้ฐานมีความมั่นคง หลังจากที่คอนกรีตแห้งแล้วควรทำความสะอาดเศษปูนหรือเศษดินทรายต่างๆออกจากหลุมที่จะทำการติดตั้งถังบำบัดน้ำ เพราะอาจจะทำให้ถังบำบัดเกิดความเสียหายได้
  6. นำถังแซทติดตั้งลงในหลุมโดยหันท่อให้ถูกต้อง ตามด้านน้ำเข้าและออก โดนสามารถสังเกตได้ที่ตัวของถังบำบัด
  7. เติมน้ำลงไปในถังบำบัด จนเต็มและให้รับดับน้ำล้นท่อเข้าและออกพอดี
  8. เมื่อเติมน้ำจนเต็มถังแซทแล้วให้กลบหลุมด้วยทรายหยาบล้วนเท่านั้น ห้ามมีดินผสมโดยเด็ดขาดเพราะเศษหินหรือปูนอาจทิ่มแทงตัวถังบำบัดได้
  9. เพื่อความเรียบร้อยสามารถเทคอนกรีตเพื่อเก็บงานด้านบนของฝาถังบำบัดน้ำเสียเพื่อความสวยงามได้

การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียควรติดตั้งให้ไม่ใกล้ไม่ไกลกับตัวบ้านโดยคำนึงถึงระยะห่างระหว่างตัวบ้านกับถังแซทและความลึกของหลุ่ม เพื่อให้คราบไขมันหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆสามารถไหล่ผ่านมายังถังบำบัดน้ำเสียได้สะดวก

หากการติดตั้งยังไม่เสร็จสมบูรณ์หรืออยู่ระยะการต่อท่อเข้ากับตัวถังบำบัดน้ำเสีย ควรนำฝาหรือถุงมาครอบปิด รูระบายน้ำเข้า-ออก เผื่อไม่ให้มีเศษหินหรือปูนหลุดเข้าไปภายในตัวถังแซท การต่อท่อเข้ากับโถสุขภัณฑ์แนะนำใช้เป็นท่อ pvc เพื่อกันการรั่วเมื่อเกิดการชำรุดเสียหายจากทรุดตัวของหน้าดิน

ขุดหลุมฝังบ่อบำบัด ด้วยแบล็คโฮล
ใช้แบล็คโฮล์ในการขุดหลุมติดตั้งถังแซท

ขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย (ถังแซท)

โดยปกติแล้วผู้ผลิตถังบำบัดน้ำเสียจะทำการระบุขนาดและความเหมาะสมไว้บนตัวถังอยู่แล้ว หรือสามารถคำนวนได้โดยการนำสมาชิกภายในบ้านมาคูณกับปริมาณน้ำเสีย(คิดเป็นร้อยละ 80ของปริมาณน้ำที่ใช้ต่อวันต่อ) และคูณกับเวลาที่ใช้บำบัด (ประมาณ 1.5 วัน) โดยจะออกมาเป็น
ขนาดของถังแซท = จำนวนสมาชิกในบ้าน x 0.8 x ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อคนต่อวัน 1.5 (ลิตร)

บ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อพักน้ำ
ถังบำบัดน้ำที่ทำการติดตั้งฝังดินแล้ว

การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียที่ผิดหลัก

ระยะของท่อน้ำที่ยาวเกินไป
การต่อท่อถังบำบัดน้ำเสียที่ยาวเกินไป

จะเห็นได้จากรูปตัวอย่างว่าความยาวของท่อที่ทำการติดตั้งกับถังบำบัดน้ำเสียมีความยาวอยู่ที่ระยะ 8 เมตร ความยาวของท่อที่มากเกินไปทำให้ท่อที่ต่อกับถังแซทมีความลาดลงไม่พอทำให้น้ำที่ควรไหลออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะไม่สามารถไหล่ลงไปได้อย่างราบรื่น ทำให้เกิดน้ำถ่วมขังภายในท่อ และลุกลามย้อนกลับมาถึงถังบำบัดน้ำเสีย กากของเสียหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆจะลอยขึ้นจากก้นถังบำบัดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและหากไม่รีบแก้ไขอาจเกิดการอุดตันขึ้นภายในท่อ ทำให้น้ำไม่สามารถเดินทางลงท่อน้ำสาธารณะได้และจะถูกดันกลับเข้าไปภายในบ้าน

กรณีที่เห็นได้บ่อยคือน้ำจากโถสุขภัณฑ์เกิดการล้นทะลักไม่สามารถกดน้ำลงได้ หากพบเห็นความยาวของท่อที่ผิดปกติควรรีบติดต่อช่างที่รับผิดชอบให้ทำการรื้อติดตั้งใหม่โดยทันที เพื่อให้ถังบำบัดมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้นและเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมโดยรอบไปด้วยไม่เกิดมลพิษ

หากเกิดรอยบุบบนตัวถังแซทควรแก้ไขอย่างไร?

หากถังบำบัดน้ำเสียเกิดการบุบควรแก้ไขอย่างไร หากเกิดเหตุการณ์ที่ถังบำบัดน้ำเสียเกิดการบุบเราสามารถแก้ไขง่าย โดยการเติมน้ำลงในถังบำบัดจนเต็มถัง หรือหากเติมจนเต็มแล้วอาการบุบที่ตัวถังบำบัด ยังไม่หายอาจจะใช้เหล็กกดให้รอยบุบคืนสภาพโดยตรงได้ แต่เหล็กที่ใช้ควรห่อด้วยผ้าเอาไว้ด้วยในกรณีที่เหล็กมีความแหล่มคม เพื่อลดความเสี่ยงที่ปลายเหล็กจะสร้างความเสียหายให้กับตัวถังแซทโดยตรง

ช่างที่รับผิดชอบในการเดินท่อน้ำของบ่อบำบัดน้ำเสียควรเป็นผู้มีความชำนาญในด้านการเดินท่อของระบบประปา เพื่อรับฟังคำแนะนำและข้อควรปฏิบัติเมื่อทำการติดตั้งถังบำบัด เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดหลังจากทำการติดตั้งแซทแล้ว

ข้อควรระวัง!!

ถังบำบัดน้ำเสียสามารถรับน้ำจากท่อของโถสุขภัณฑ์เท่านั้น เพื่อให้ถังบำบัดไม่รับหน้าที่หนักเกินจำเป็น หากเป็นอ่างล้างจานควรต่อท่อลงไปยังบ่อดักไขมันและลงบ่อพักแทน เนื่องจากไขมันจากภาชนะอาจทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย และอาจส่งกลิ่นเหม็นย้อนขึ้นมาจากถังบำบัดได้

ถังแซทที่ติดตั้งเก็บงานเรียบร้อยแล้ว
ถังแซทที่ทำการติดตั้งและเก็บงานเรียบร้อยแล้ว

และทั้งหมดนี้คือข้อมูลของถังบำบัดน้ำเสียหรือว่าถังแซทนั้นเองครับ หวังว่าบทความนี้จะช่วยเหลือทุกคนที่กำลังมีแผนที่กำลังจะสร้างบ้านกันอยู่นะครับ เพราะเรื่องของถังบำบัดน้ำเสียหรือระบบท่อน้ำทิ้งนั้นนับเป็นปัจจัยสำคัญของบ้านที่ไม่ควรมองข้ามแม้แต่นิดเดียวครับ

Scroll to Top